เขียนตอบ
"ใช้ในกรณีการเขียนตอบเรื่องที่ครูเขียนในสมุดเร็นระขุโจหรือจดหมายแจ้งข่าวสาร จากโรงเรียน • สถานรับเลี้ยง หากไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าควรเขียนตอบเมื่อไหร่ กรุณาอ้างอิงจากกรณีดังต่อไปนี้"
ขอโทษเมื่อลืมอะไรบางอย่าง
กล่าวแสดงความขอบคุณหรือขอโทษ เมื่อมีการยืมของจากโรงเรียน • สถานรับเลี้ยง หรือเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากคุณครู
ให้คำตอบกับคำขอของทางโรงเรียน • สถานรับเลี้ยง
เมื่อได้รับการแสดงความห่วงใยหรือความยินดีจากครู ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ในโรงเรียน • สถานรับเลี้ยง
ติดต่อเกี่ยวกับการเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมงานกิจกรรม
ติดต่อเกี่ยวกับกำหนดการของการเข้าพบพูดคุย
อ้างอิง
- เมื่อได้รับแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ในโรงเรียน • สถานรับเลี้ยงของบุตรของตน
- หากคุณครูที่โรงเรียน • สถานรับเลี้ยงเขียนมาโดยใช้สำนวนว่า 「(ชื่อเด็ก)จัง ทำ ~ แล้ว」 「(ชื่อเด็ก)จัง ทำ ~ อยู่แล้ว」 อย่างเช่น 「(ชื่อเด็ก)จัง วาดรูปเล่นกับเพื่อนได้เป็นอย่างดี」
- ในลักษณะนี้จะเป็นการแจ้งให้ทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ในโรงเรียน • สถานรับเลี้ยง
- แค่เซ็นชื่อหรือประทับตราอินคังลงไปก็เพียงพอ
- เมื่อมีส่วนที่คิดว่าเห็นด้วยหรือมีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกับสิ่งที่คุณครูเขียน
- สามารถใช้การขีดเส้นใต้ที่ส่วนดังกล่าวแล้วเขียนว่า 「そうですね (เห็นด้วยค่ะ)」 ก็ได้
- เมื่อเด็กลืมของที่จะต้องนำไปหรือผู้ปกครองลืมส่งสิ่งที่จะต้องส่ง
- จะใช้คำสั้นๆ ว่า 「すみません (ขอโทษค่ะ)」 ก็ได้
- แสดงความขอโทษเมื่อลืมอะไรบางอย่าง
- เมื่อคุณครูได้ทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อเด็ก
- สามารถใช้คำสั้นๆ อย่างเช่น 「ありがとうございます (ขอบคุณค่ะ)」 「助かりました (ช่วยได้เยอะเลยค่ะ)」 เป็นต้นก็ได้
- กล่าวแสดงความขอบคุณหรือขอโทษ เมื่อมีการยืมของจากโรงเรียน • สถานรับเลี้ยง หรือเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากคุณครู
- เมื่อคุณครูเขียนมาว่า 「ดูเหมือนว่า (ชื่อเด็ก)จังจะอยากทำ ~」 「(ชื่อเด็ก)จังน่าจะทำ ~ ได้」
- อันนี้โดยส่วนมากแล้วจะเป็นเรื่องของการขอความร่วมมือหรือการร้องขอจากทางโรงเรียน • สถานรับเลี้ยง ซึ่งจำเป็นจะต้องตอบกลับ
- ให้คำตอบกับคำขอจากทางโรงเรียน • สถานรับเลี้ยง
- เมื่อคุณครูได้แสดงความเป็นห่วงหรือยินดีกับเด็กหรือผู้ปกครอง
- ใช้คำสั้นๆ ว่า 「ありがとうございます (ขอบคุณค่ะ)」 ก็ได้
- เมื่อได้รับการแสดงความห่วงใยหรือความยินดีจากคุณครู ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ในโรงเรียน • สถานรับเลี้ยง