แสดงความคิด • ความรู้สึก • ความขอบคุณที่มีต่อการดำเนินการของทางโรงเรียน • สถานรับเลี้ยง

อ้างอิง

เมื่อมีการขอคำปรึกษาจากผู้ปกครองเข้ามา แน่นอนว่าทางโรงเรียน・สถานรับเลี้ยงจะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ ในโอกาสนั้นควรกล่าวคำขอบคุณพร้อมกับบอกให้ทราบถึงความรู้สึกของตนเองและคำพูดการกระทำของเด็กด้วย ซึ่งถือเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ปรึกษาไปด้วย

นอกจากนี้ เมื่อปัญหาได้รับการแก้ไขแล้วควรกล่าวหรือเขียนคำขอบคุณก็จะเป็นการดี การร่วมยินดีไปพร้อมกับครูที่สามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาได้นั้น ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้อีกด้วย

อีกด้านหนึ่ง ถึงแม้จะเป็นกรณีที่การแก้ไขปัญหาไม่เป็นไปตามที่ผู้ปกครองคาดหวังไว้ แต่ผู้ปกครองชาวญี่ปุ่นจะไม่โกรธ ไม่แสดงความไม่พอใจซึ่งเป็นความรู้สึกตำหนิฝ่ายตรงข้าม และไม่เขียนถ้อยคำที่เป็นการแสดงการตำหนิทางโรงเรียน・สถานรับเลี้ยง เช่น 「คุณครูมัวทำอะไรกันอยู่หรือคะ」「ไม่มีความรับผิดชอบเลยค่ะ」 เป็นต้น เนื่องด้วยความคิดที่ว่า นี่เป็นการร่วมมือกับโรงเรียน・สถานรับเลี้ยงในการดำเนินการแก้ไขปัญหา หากเขียนลงไปในสมุดเร็นระขุโจด้วยแล้ว จะเป็นที่กังวลว่าถ้อยคำดังกล่าวจะยังคงเหลืออยู่ในสมุดเร็นระขุโจนั้นต่อไปในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนถ้อยคำตำหนิโรงเรียน・สถานรับเลี้ยงหรือฝ่ายตรงข้ามลงในสมุดเร็นระขุโจ แต่ควรถ่ายทอดถึงความรู้สึกที่อยากจะร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหากับโรงเรียน・สถานรับเลี้ยงน่าจะเป็นการดีกว่า